ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2546 ในฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่มีการกำเนิดพายุหมุนเขตร้อนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ในภาพรวม มีพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้น 45 ลูก ในจำนวนนี้ 21 ลูกพัฒนาเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ และในจำนวนพายุโซนร้อน มีพายุ 14 ลูกพัฒนาขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น ในฤดูกาลนี้ ทุกเดือนเว้นเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้น พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นในฤดูกาลนี้ส่งผลกระทบกับประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน คาบสมุทรเกาหลี คาบสมุทรอินโดจีน และหมู่เกาะหลายหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกพายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกแรกของฤดูกาลนี้คือ ยันยัน ก่อตัวขึ้นทางตะวันตกของหมู่เกาะมาร์แชลล์เมื่อวันที่ 15 มกราคม ต่อมาในเดือนเมษายน พายุไต้ฝุ่นคูจิระ กลายเป็นหนึ่งในพายุที่มีช่วงเวลายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก ต่อมาพายุไต้ฝุ่นอิมบูโดในเดือนกรกฎาคม สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลให้กับประเทศฟิลิปปินส์และประเทศจีน ในเดือนกันยายน พายุไต้ฝุ่นแมมีกลายเป็นหนึ่งในพายุไต้ฝุ่นที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศเกาหลีใต้ นอกจากนี้แมมียังเป็นพายุที่ทรงพลังที่สุดในฤดูกาล โดยมีความกดอากาศต่ำที่สุด 910 มิลลิบาร์ ในเดือนพฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่นลูปิตทำให้เกิดความเสียหายกับรัฐยาปในสหพันธรัฐไมโครนีเซีย โดยฤดูกาลนี้ปิดท้ายด้วยการสลายตัวของพายุดีเปรสชันเขตร้อน ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ ในวันที่ 27 ธันวาคมขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าติดตามโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ของสหรัฐยังได้รับการกำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย[1]

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546

ผู้เสียชีวิตทั้งหมด 360 คน
• ความกดอากาศต่ำที่สุด 910 hPa (มิลลิบาร์)
พายุโซนร้อนทั้งหมด 21 ลูก
• ลมแรงสูงสุด 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
พายุไต้ฝุ่น 14 ลูก
ชื่อ แมมี
ความเสียหายทั้งหมด 5.73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2003)
พายุดีเปรสชันทั้งหมด 45 ลูก
ระบบแรกก่อตัว 15 มกราคม พ.ศ. 2546
ระบบสุดท้ายสลายตัว 27 ธันวาคม พ.ศ. 2546
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น 5 ลูก (ไม่เป็นทางการ)

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2547 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://australiasevereweather.com/cyclones/2003/su... http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200... http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200... http://www.prh.noaa.gov/guam/cyclone.php http://www.hko.gov.hk/informtc/tcMain.htm http://meteo.bmkg.go.id/siklon http://www.wmo.int/pages/prog/www/tcp/documents/TC... http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/